วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คุณมีตัวอสุจิที่มีคุณภาพเเล้วหรือยัง!

รูปภาพ : Anda mempunyai sperma yang berkualiti !!!

--------------------------------------------------------------------------------
KUALA LUMPUR – Seorang lelaki Bosnia menyaman bekas kekasihnya dan menuntut ganti rugi RM600,000 kerana didakwa mempergunakan dirinya bagi mendapatkan sperma supaya wanita itu memperolehi genetik orang Eropah yang dikatakan lebih berkualiti tinggi.

Plaintif yang juga pengarah komersial di syarikat tempatan, Ervin Ahbabovic, 41, memfailkan saman Jumaat lalu menerusi Tetuan The Law Chambers of Mohamad Fauzi di Mahkamah Tinggi di sini.

Berdasarkan writ saman, Ervin yang telah mendapat status Penduduk Tetap menjalinkan hubungan dengan defendan, 29, sejak 2008 dan dikurniakan seorang anak lelaki yang kini berusia tiga tahun.

Bagaimanapun, selepas melahirkan anak, defendan didakwa kerap mencari peluang untuk bergaduh malah plaintif menyedari keinginan seksualiti dan dominasi defendan melangkaui kadar biasa sehingga menjadi rutin harian yang terpaksa dipenuhi.

คุณมีตัวอสุจิที่มีคุณภาพเเล้วหรือยัง!

-------------------------------------------------- ------------------------------
กัวลาลัมเปอร์ - คนบอสเนียฟ้องร้องอดีตคนรักและการแสวงหาความเสียหายจาก RM600, 000 คือว่าเพื่อใช้ประโยชน์จากเขาได้รับสเปิร์มกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ได้รับการกล่าวหาทางพันธุกรรมที่มีคุณภาพสูงในยุโรป

โจทก์ยังเป็นผู้อำนวยการในเชิงพาณิชย์ที่ บริษัท ท้องถิ่น Ahbabovic เออร์วิน, 41, ยื่นฟ้องเมื่อวันศุกร์โดย Chambers กฎหมายลิขสิทธิ์ของโมฮาเหม็ Fauzi ที่ศาลสูงที่นี่

ขึ้นอยู่กับคำสั่งของหมายเรียก, เออร์วินได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรในสถานะความสัมพันธ์กับจำเลย, 29, ตั้งแต่ปี 2008 และมีลูกชายคนหนึ่งซึ่งตอนนี้อายุได้สามขวบ

อย่างไรก็ตามหลังจากที่คลอดบุตรจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่ามักจะมองหาโอกาสที่จะต่อสู้ได้ตระหนักถึงความต้องการทางเพศของโจทก์และการปกครองของจำเลยเกินอัตราปกติจนกว่ามันจะกลายเป็นกิจวัตรประจำวันที่จะต้องพบกับ

การมีลูกถือเป็นหนึ่งในการเติมเต็มความสมบูรณ์ของครอบครัว แต่ในบางคู่ พยายามเท่าไรก็ไม่มีลูกเสียที จนบางครั้งอาจทำให้เกิดความเครียดหรือความกังวลในครอบครัว ลองมาดูกันครับว่า คุณเข้าข่ายมีลูกยากกันหรือไม่และจะแก้ไขได้อย่างไร

ภาวะมีลูกยากคืออะไร

ตามทฤษฎีทางการแพทย์ ภาวะมีลูกยาก คือ การที่คู่สามีภรรยามีความสัมพันธ์กันโดยไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใดๆ มาเป็นเวลา 1 ปีแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณๆ จะต้องรอจนถึง 1 ปีแล้วค่อยมาพบแพทย์นะครับ
ในความเป็นจริงแล้ว หากคู่สามีภรรยาพร้อมที่จะมีลูก และทราบว่าตนเองมีปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลให้มีลูกยาก เช่น ฝ่ายหญิงมีสุขภาพไม่แข็งแรง มีอายุมากกว่า 35 ปี มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ มีประวัติเคยผ่าตัดหรือมีการอักเสบในช่องท้องมาก่อน หรือในฝ่ายชายมีสุขภาพไม่แข็งแรง เคยมีอุบัติเหตุหรือมีการติดเชื้อรุนแรงที่อวัยวะมาก่อน เป็นต้น ก็สามารถมาพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาก่อน 1 ปีได้

สาเหตุของการมีลูกยาก

สาเหตุของการมีลูกยากสามารถเกิดได้ทั้งจากฝ่ายหญิง ฝ่ายชาย หรือทั้งสองฝ่าย โดยที่ผ่านมามีการศึกษามากมายพบว่า การมีลูกยากที่เกิดจากฝ่ายชายพบได้ 30% ในขณะที่เกิดจากฝ่ายหญิง 40-50% ที่เหลือเกิดจากทั้งคู่ หรืออาจหาสาเหตุไม่พบทั้งคู่ด้วยวิธีการตรวจพื้นฐาน
สาเหตุจากฝ่ายชาย เช่น มีอวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติแต่กำเนิด ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ มีพันธุกรรมที่ผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซมหรือยีนที่ทำให้ไม่สามารถสร้างตัวอสุจิได้หรือสร้างได้น้อยกว่าปกติมาก ได้รับสารเคมีบางชนิด (เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว สารประกอบเบนซีน รวมถึงการใช้ยาบางชนิด) สูบบุหรี่เป็นประจำ มีโรคประจำตัวบางอย่างที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ (เช่น เบาหวาน) เป็นโรคคางทูมในวัยเด็ก ได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น

สาเหตุจากฝ่ายหญิง เช่น มีอายุมาก สูบบุหรี่เป็นประจำ ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ มีความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์แต่กำเนิด มีเนื้องอกของมดลูกขนาดใหญ่หรืออยู่ในโพรงมดลูก ท่อนำไข่ตัน มีเยื่อพังผืดในอุ้งเชิงกรานหรือเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ รังไข่ทำงานไม่ได้ตามปกติ ไม่สามารถมีไข่ตกได้ มีซิสต์หรือเนื้องอกของรังไข่ มีความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกายที่ส่งผลต่อการตกไข่ เป็นต้น  

วิธีการตรวจประเมินภาวะมีบุตรยาก

เมื่อคู่สามีภรรยามาพบแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติเพื่อหาสาเหตุก่อน เช่น ฝ่ายหญิงอาจมีรอบเดือนผิดปกติ มีอาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน เคยมีการอักเสบในอุ้งเชิงกราน หรือเคยติดโรคทางเพศสัมพันธ์ หรือฝ่ายชายเคยมีประวัติอุบัติเหตุหรือการติดเชื้อรุนแรงที่อวัยวะสืบพันธุ์ เคยทำหมันมาก่อน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์สามารถค้นหาสาเหตุที่ทำให้มีลูกยากได้
นอกเหนือจากการซักประวัติแล้ว แพทย์อาจทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติม โดยตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อให้แน่ใจว่าคู่สามีภรรยาแข็งแรงและพร้อมที่จะตั้งครรภ์ โดยไม่มีโรคติดต่ออันตรายที่จะสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ นอกจากนี้แล้วจะต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยฝ่ายชายจะต้องทำการตรวจสอบคุณภาพของน้ำเชื้อ ส่วนในฝ่ายหญิงอาจต้องได้รับการตรวจภายใน การทำอัลตราซาวนด์ การตรวจเลือดดูความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ การทำเอกซเรย์ฉีดสีตรวจท่อนำไข่  ในบางรายอาจต้องทำผ่าตัดส่องกล้องตรวจในช่องท้องและหรือในโพรงมดลูกเพื่อตรวจหาความผิดปกติ
เมื่อทำการตรวจต่างๆ เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะสามารถทราบสาเหตุของการมีลูกยากได้ และจะทำการรักษาโดยเริ่มต้นจากการแก้ไขที่สาเหตุนั้นก่อน แต่หากแก้ไขแล้วยังไม่ประสบผลสำเร็จ หรือในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีอายุมาก ก็อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะมีลูกยาก ลองมาทำความรู้จักกันนะครับ
  1. การผสมเทียมโดยการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง(Intrauterine Insemination: IUI) แพทย์จะทำการกระตุ้นไข่ จนเมื่อวันที่ไข่ตก ก็ทำการเก็บอสุจิ โดยคัดเอาตัวที่ดี และนำไปใส่ในมดลูก แต่วิธีนี้จะเหมาะกับผู้หญิงที่ไม่มีปัญหาท่อนำไข่ตัน โดยจะมีโอกาสตั้งครรภ์ 15-20% ในผู้หญิงที่อายุไม่มาก หากอายุประมาณ 35-40 ปี โอกาสในการตั้งครรภ์ก็จะลดลง เหลือประมาณ 10%
  2. การทำกิฟท์ (Gamete Intrafallopian Transfer: GIFT) แพทย์จะทำการกระตุ้นไข่ จนเมื่อวันที่ไข่ตก ก็ทำการเก็บอสุจิ นำมาผสมกับไข่ แล้วใส่ในหลอดเล็กๆ ใส่กลับเข้าไปบริเวณท่อนำไข่ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปฏิสนธิตามธรรมชาติ แต่วิธีการนี้ต้องเจาะผนังหน้าท้องเพื่อนำไข่และอสุจิใส่ในท่อนำไข่ จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
  3. การทำซิฟท์ (Zygote Intrafallopian Transfer: ZIFT)วิธีการนี้คล้ายกับการทำกิฟท์ แต่ต่างกันที่เมื่อนำอสุจิกับไข่มาผสมกันแล้ว จะนำไปเลี้ยงไว้ในห้องปฏิบัติการจนเกิดการปฏิสนธิตัวอ่อนในระยะที่เรียกว่า zygote จึงค่อยใส่กลับไปในบริเวณท่อนำไข่ ซึ่งวิธีการนี้ก็ต้องทำการเจาะผนังหน้าท้องเช่นเดียวกับการทำกิฟท์ จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเช่นกัน
  4. การปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว (In-vitro Fertilization: IVF) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน  โดยจะเป็นการเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอดและนำมาผสมกับอสุจิให้เกิดปฏิสนธิกันภายในห้องปฏิบัติการจนได้ตัวอ่อน จึงทำการย้ายตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูกต่อไป ซึ่งวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้การเจาะผนังหน้าท้อง และเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น โดยผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 38 ปีมีโอกาสตั้งครรภ์ประมาณ 30-50% และในคนที่อายุมากกว่า 38 ปีจะมีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำกว่า 30%
  5. การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection: ICSI) เป็นการฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่ จัดเป็นขั้นตอนหนึ่งของการทำ IVF โดยจะใช้ในกรณีที่ฝ่ายชายมีอสุจิที่คุณภาพไม่ดี ไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ชายมีปัญหาไม่มีตัวอสุจิในน้ำเชื้อ ก็มีวิธีการที่จะนำเอาตัวอสุจิออกมาจากลูกอัณฑะหรือหลอดอสุจิเพื่อมาใช้ในกระบวนการทำอิ๊กซี่ต่อได้ เช่น PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration), MESA (Microsurgical Epididymal Sperm Aspiration) หรือ TESE (Testicular Biopsy Sperm Extraction)
ทั้งนี้ ความสำเร็จของการรักษาและโอกาสในการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอายุ ความผิดปกติ และวิธีการที่ใช้ เมื่อคู่สามีภรรยาตัดสินใจเข้ารับการรักษาภาวะมีลูกยาก แพทย์จะเป็นผู้ร่วมพิจารณาว่าควรใช้วิธีใด เพื่อช่วยเพิ่มความสำเร็จของการตั้งครรภ์โดยคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงจากการใช้ยาต่างๆ
สุดท้ายที่อยากฝากไว้ คือ การรักษาภาวะมีลูกยากอาจต้องใช้เวลา คู่สามีภรรยาควรเตรียมร่างกายและใจให้พร้อม และอย่าลืมให้กำลังใจกันและกันอย่างสม่ำเสมอนะครับ
เรียบเรียงโดย รศ.นพ.ภัทรภูมิ โพธิ์พงษ์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น