วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สาเหตุของความดันโลหิตสูง

รูปภาพ : ***ความดันสูงมีหลายสาเหตุ***

แพทย์และผู้ป่วยส่วนใหญ่ละเลยการสืบค้นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ถึงแม้ว่าผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบทั้งหมดจะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด โดยมากจะมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุมาก กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ การบริโภคเกลือเป็นประจำ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความเครียด แต่มีผู้ป่วยบางรายที่มีสาเหตุและบางอย่างก็สามารถแก้ไขได้ ทำให้ไม่ต้องใช้ยาควบคุมความดันโลหิตไปตลอด ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ มีดังนี้
            
          -โรคไต ได้แก่ ไตพิการเรื้อรัง หรือหลอดเลือดแดงของไตตีบตัน ซึ่งการตรวจร่างกายจะต้องตรวจหาร่องรอยของไตพิการ และต้องฟังที่ท้องและเอวว่ามีเสียงฟู่ของหลอดเลือดตีบหรือไม่ ต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจไตด้วยวิธีพิเศษ เช่น อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก

          -โรคของต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะต่อมหมวกไต ซึ่งจะผลิตฮอร์โมนบางอย่างทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมักจะมีความดันโลหิตสูงมากเป็นพัก ๆ หรือมีความดันโลหิตสูงร่วมกับภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลังเป็น ๆ หาย ๆ การตรวจวินิจฉัย คือ การตรวจฮอร์โมนและการใช้อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก

          นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคของต่อมหมวกไตอาจเกิดอาการผิดปกติที่มีลักษณะพิเศษ คือ ความดันโลหิตสูง อ้วนบางส่วน คือหน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ ท้องโต หลังนูนเป็นหนอก แต่แขนขาลีบเล็กลงอ่อนกำลัง มีหนวดขึ้นหรือมีขนที่ใบหน้ามากขึ้น บวมทั้งตัวแต่ไม่มาก ท้องลายเป็นสีม่วงจาง ๆ ต่างจากคนตั้งครรภ์หรือคนอ้วนทั่วไปที่ลายซีด ๆ

          -โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในอกตีบแคบมาแต่กำเนิด หรือหลอดเลือดขนาดใหญ่อักเสบเรื้อรังจนตีบตัน ตรวจร่างกายพบชีพจรแขนขาแรงไม่เท่ากัน หรือชีพจรบางแห่งเบาผิดปกติ การวัดความดันโลหิตจึงต้องวัดเทียบกันทั้งแขนขวากับแขนซ้ายและแขนกับขา

          -สาเหตุจากยา ได้แก่ ยากลุ่มสตีรอยด์ ยาต้านการอักเสบ (เช่น ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ) ยาที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือด (เช่น ยาแก้คัดจมูก และยาที่กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติบางอย่าง) จึงต้องตรวจสอบการใช้ยาของผู้ป่วยด้วย แม้แต่ยาสมุนไพรบางอย่างก็มีสารสตีรอยด์ หรือมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน (เช่น ชะเอม)

ยา

          ดังนั้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกคน ควรสอบถามแพทย์ที่ตรวจรักษาตนดังนี้

          สาเหตุของความดันโลหิตสูงของตนคืออะไร จะเกิดจากโรคไต โรคต่อมหมวกไต โรคหลอดเลือด หรือเกิดจากยาได้หรือไม่

          ผลกระทบที่เกิดจากความดันโลหิตสูงคืออะไร ต่อไปจะมีปัญหากับหัวใจและอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ หรือไม่ จะทราบได้อย่างไร รวมถึงจะป้องกันและแก้ไขอย่างไร

          ผู้ป่วยรายหนึ่ง เป็นชายไทยวัยทำงาน มาพบผู้เขียนด้วยอาการปวดศีรษะรุนแรงเป็นพัก ๆ ตรวจพบว่าขณะปวดศีรษะผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นมาก และลดลงเป็นปกติพร้อม ๆ กับหายปวดศีรษะ ลักษณะเช่นนี้สงสัยว่าอาจจะเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งของต่อหมวกไต จึงได้ตรวจฮอร์โมนและทำอัลตราซาวนด์ท้อง ผลออกมาปกติ

          แต่เนื่องจากยังข้องใจอยู่จึงส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ปรากฏว่า มีเนื้องอกของปมประสาทข้างต่อมหมวกไต (เป็นชนิดเดียวกับเนื้องอกของต่อมหมวกไต) ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงเป็นพัก ๆ หลังการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก อาการปวดศีรษะ จึงหายสนิทและความดันโลหิตปกติดี

          ผู้ป่วยจึงกลับบ้านด้วยความรู้สึกทั้งดีใจที่หายสนิท โดยไม่ต้องกินยาความดันไปหลอด และอีกความรู้สึกหนึ่งคือความประหลาดใจที่ตนเองมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดที่ศีรษะ แต่กลับมีสาเหตุอยู่ในท้อง จนต้องผ่าตัดมีแผลที่หน้าท้องยาวมากกว่าคีบ

          นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุของความดันโลหิตสูงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่คาดไม่ถึงก็ได้


ที่มา : หมอชาวบ้าน/by สาระแห่งสุขภาพ
แพทย์และผู้ป่วยส่วนใหญ่ละเลยการสืบค้นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ถึงแม้ว่าผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบทั้งหมดจะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด โดยมากจะมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุมาก กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ การบริโภคเกลือเป็นประจำ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความเครียด แต่มีผู้ป่วยบางรายที่มีสาเหตุและบางอย่างก็สามารถแก้ไขได้ ทำให้ไม่ต้องใช้ยาควบคุมความดันโลหิตไปตลอด ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ มีดังนี้

-โรคไต ได้แก่ ไตพิการเรื้อรัง หรือหลอดเลือดแดงของไตตีบตัน ซึ่งการตรวจร่างกายจะต้องตรวจหาร่องรอยของไตพิการ และต้องฟังที่ท้องและเอวว่ามีเสียงฟู่ของหลอดเลือดตีบหรือไม่ ต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจไตด้วยวิธีพิเศษ เช่น อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก

-โรคของต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะต่อมหมวกไต ซึ่งจะผลิตฮอร์โมนบางอย่างทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมักจะมีความดันโลหิตสูงมากเป็นพัก ๆ หรือมีความดันโลหิตสูงร่วมกับภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลังเป็น ๆ หาย ๆ การตรวจวินิจฉัย คือ การตรวจฮอร์โมนและการใช้อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก

นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคของต่อมหมวกไตอาจเกิดอาการผิดปกติที่มีลักษณะพิเศษ คือ ความดันโลหิตสูง อ้วนบางส่วน คือหน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ ท้องโต หลังนูนเป็นหนอก แต่แขนขาลีบเล็กลงอ่อนกำลัง มีหนวดขึ้นหรือมีขนที่ใบหน้ามากขึ้น บวมทั้งตัวแต่ไม่มาก ท้องลายเป็นสีม่วงจาง ๆ ต่างจากคนตั้งครรภ์หรือคนอ้วนทั่วไปที่ลายซีด ๆ

-โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในอกตีบแคบมาแต่กำเนิด หรือหลอดเลือดขนาดใหญ่อักเสบเรื้อรังจนตีบตัน ตรวจร่างกายพบชีพจรแขนขาแรงไม่เท่ากัน หรือชีพจรบางแห่งเบาผิดปกติ การวัดความดันโลหิตจึงต้องวัดเทียบกันทั้งแขนขวากับแขนซ้ายและแขนกับขา

-สาเหตุจากยา ได้แก่ ยากลุ่มสตีรอยด์ ยาต้านการอักเสบ (เช่น ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ) ยาที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือด (เช่น ยาแก้คัดจมูก และยาที่กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติบางอย่าง) จึงต้องตรวจสอบการใช้ยาของผู้ป่วยด้วย แม้แต่ยาสมุนไพรบางอย่างก็มีสารสตีรอยด์ หรือมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน (เช่น ชะเอม)

ยา

ดังนั้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกคน ควรสอบถามแพทย์ที่ตรวจรักษาตนดังนี้

สาเหตุของความดันโลหิตสูงของตนคืออะไร จะเกิดจากโรคไต โรคต่อมหมวกไต โรคหลอดเลือด หรือเกิดจากยาได้หรือไม่

ผลกระทบที่เกิดจากความดันโลหิตสูงคืออะไร ต่อไปจะมีปัญหากับหัวใจและอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ หรือไม่ จะทราบได้อย่างไร รวมถึงจะป้องกันและแก้ไขอย่างไร

ผู้ป่วยรายหนึ่ง เป็นชายไทยวัยทำงาน มาพบผู้เขียนด้วยอาการปวดศีรษะรุนแรงเป็นพัก ๆ ตรวจพบว่าขณะปวดศีรษะผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นมาก และลดลงเป็นปกติพร้อม ๆ กับหายปวดศีรษะ ลักษณะเช่นนี้สงสัยว่าอาจจะเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งของต่อหมวกไต จึงได้ตรวจฮอร์โมนและทำอัลตราซาวนด์ท้อง ผลออกมาปกติ

แต่เนื่องจากยังข้องใจอยู่จึงส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ปรากฏว่า มีเนื้องอกของปมประสาทข้างต่อมหมวกไต (เป็นชนิดเดียวกับเนื้องอกของต่อมหมวกไต) ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงเป็นพัก ๆ หลังการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก อาการปวดศีรษะ จึงหายสนิทและความดันโลหิตปกติดี

ผู้ป่วยจึงกลับบ้านด้วยความรู้สึกทั้งดีใจที่หายสนิท โดยไม่ต้องกินยาความดันไปหลอด และอีกความรู้สึกหนึ่งคือความประหลาดใจที่ตนเองมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดที่ศีรษะ แต่กลับมีสาเหตุอยู่ในท้อง จนต้องผ่าตัดมีแผลที่หน้าท้องยาวมากกว่าคีบ

นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุของความดันโลหิตสูงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่คาดไม่ถึงก็ได้


ที่มา : หมอชาวบ้าน/by สาระแห่งสุขภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น