เรื่องน่ารู้ของปลาไหลเผือก
: สมุนไพรคู่ใจพรานไพร
คู่กายของชายชาตรี ยาอายุวัฒนะ
เสริมพลังชีวิต
ที่เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า "ปลาไหลเผือก" เนื่องจากรากของสมุนไพรชนิดนี้มีลักษณะเหมือนปลาไหลเผือก คือมีสีขาวยาวๆ เหมือนปลาไหลเผือกและยังมีรากเดียว บางครั้งจึงมีคนเรียกว่า พญารากเดียว ซึ่งทางอีสานเรียก เอี่ยน ด่อน (ภาษาอีสานเรียกปลาไหลว่า เอี่ยน ส่วนด่อนภาษาอีสานหมายถึง เผือก) คนอีสานบางท้องที่เรียกปลาไหลเผือกว่า หยิกบ่ถอง ส่วนรากปลาไหลเผือกถ้ามีอายุหลายปี จะมีความยาวมาก บางครั้งยาวมากกว่าความสูงของคนเสียอีก จนทำให้บางท้องที่เรียกปลาไหลเผือกว่า ตรึงบาดาล
ปลาไหลเผือกเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีลำต้นสีแดง ในป่าดงดิบจะสูงประมาณ ๖-๑๕ เมตร แต่ในป่าเต็งรังสูงประมาณ ๑-๓ เมตร ไม่แตกกิ่งก้านทางด้านข้าง จะมีใบอยู่ตรงส่วนยอดของลำต้น ใบยาวประมาณ ๑ เมตร ใบนี้ประกอบด้วยใบย่อยจำนวนมาก ใบย่อยมีขนและรูปร่างเรียวแหลมหรือรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกสีแดงยาว ๑๐-๑๕ มิลลิเมตร มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ ดอกยาวขนาดใกล้เคียงกับความยาวของใบ ผลสีน้ำตาล รูปร่างคล้ายรูปไข่ ขนาดกว้าง ๕-๑๒ มิลลิเมตร ยาว ๑๐-๑๗ มิลลิเมตร
" หลากหลายตำนาน หลากหลายป่า ของ ปลาไหลเผือก "
ปลาไหลเผือก…
สมุนไพรที่ใช้เปรียบเสมือนไม้เท้าของท่านอาลี
ปลาไหลเผือก...สมุนไพรเพิ่มพลัง
ของพรานไพร และนายฮ้อย
พ่อสมจิต ตีเหล็ก ลูกชายหมอยา ปู่อ่ำ ตีเหล็ก จากจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันพ่อสมจิตมีอายุ ๗๔ ปี พ่อเล่าว่าสมัยก่อนนายฮ้อย หรือผู้ต้อนฝูงควายตระเวนขายตามหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศไทย ต้องร่อนเร่ข้ามเขา ข้ามห้วย บางครั้งต้องเดินทางผ่านป่าผ่านดงเป็นเดือนๆ สมุนไพรบบำรุงกำลังที่คู่มากับการเดินทางไกลและยาวนานก็คือ ปลาไหลเผือก พวกนายฮ้อยจะใช้รากปลาไหลเผือกต้มน้ำดื่ม ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง อดทน คลายอาการปวดเมื่อย ป้องกันและรักษาอาการไข้ขึ้นระหว่างเดินทาง ทำให้แผลหายเร็วขึ้นด้วย และยังใช้รากปลาไหลเผือกผสมกับสมุนไพรโลดทะนงแดง ทารกวัวรกควายเพื่อเบื่อหมาในที่มักชอบมาขโมยลูกวัวลูกควายคลอดใหม่ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการดื่มน้ำต้มรากปลาไหลเผือกนอกจากเพื่อบำรุงกำลังให้ข้ามเขาข้ามห้วยได้แล้ว ยังกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี บรรเทาอาการผื่นคันบริเวณผิวหนัง
ส่วนพ่อบุญมี ได้ฤกษ์ พรานไพรแห่งป่าเขาใหญ่ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เคยเล่าให้ฟังว่า ในการเดินป่านั้นจะขาดปลาไหลเผือกไม่ได้ เพราะปลาไหลเผือกต้มกินทำให้มีกำลังเดินป่าเดินเขา ใช้รักษาไข้ป่า เวลาที่ปวดท้องอย่างแรง (กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน) ถ้าใช้ต้มกินหรือเคี้ยวกินทันทีอาการจะหายเป็นปลิดทิ้ง หรือถ้ามีอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะก็ใช้ได้ผล และพ่อบุญมียังเล่าว่ารากปลาไหลเผือกใช้ในการรักษาตัดไข้ แก้พิษทุกชนิด เช่น พิษแมลงสัตว์กัดต่อย พิษฝี ทั้งฝีภายใน ฝีภายนอก และพุพอง พรานสมัยก่อนจึงมักจะมีรากปลาไหลเผือกตากแห้งติดตัวติดบ้านไว้เสมอ
ปลาไหลเผือก…หยิกบ่ถอง
ทำให้หนังเหนียวครา…ออกรบ
ตาส่วน สีมะพริก และคุณบุญล้วน จันทร์นวล เล่าตรงกันว่า ในสมัยก่อนคนที่ออกรบจะต้องพกปลาไหลเผือกติดตัวไปด้วย ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ก่อนเข้าสู่สนามรบให้นำมาเคี้ยวกินจะทำให้อยู่ยงคงกะพัน มีเรี่ยวแรงในการรบ ปลาไหลเผือก จึงได้ชื่อว่า หยิกบ่ถอง อีเฒ่าหนังหยาน ซึ่งมีความหมายของความเป็นคนหนังเหนียว ผิวหนังไม่มีความรู้สึกใดๆ แต่การจะเอารากปลาไหลเผือกมาใช้ต้องทำพิธีขอ แล้วจึงขุดรากขึ้นมา เมื่อขุดรากขึ้นมาเรียบร้อยก็ต้องทำพิธีปลุกเสกอีกครั้ง ถึงจะนำมาใช้ได้ เชื่อว่าเมื่อเคี้ยวกินหรือฝนกิน จะทำให้หนังเหนียวมีพละกำลังมากขึ้น
เป็นที่น่าแปลกใจว่า การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่าปลาไหลเผือกมีสรรพคุณในการเพิ่มความแข็งแรงของนักกีฬาได้อย่างชัดเจนด้วย
ปลาไหลเผือก…ขมสามดอย ยาดีของไทยใหญ่
มีครั้งหนึ่งเมื่อต้องเดินป่าไปเก็บยาสมุนไพรกับหมอยาไทยใหญ่ ที่ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พ่อหมอยาได้พาเดินไต่เขาไปสองสันเขา เพื่อไปดูยาสมุนไพรต้นที่มีชื่อว่า ขมสามดอย อันมีความหมายถึงเดินขาลากไปสามดอยแล้วยังไม่หายขม หรือทำให้มีกำลังเดินได้ถึงสามดอยก็ได้ เจอต้นขมสามดอยของไทยใหญ่ก็เป็นต้นเดียวกับปลาไหลเผือกที่คุ้นเคยอยู่แล้ว พ่อหมอยังบอกอีกว่า รากปลาไหลเผือกต้มกินแก้ไข้หนาวสั่น (ซึ่งน่าจะเป็นไข้มาลาเรีย) จะใช้เฉพาะตัวมันตัวเดียวหรือต้มรวมกับงูเห่าเหลือง (เถางูเห่า) ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าใช้รากปลาไหลเผือกต้มกิน ทำให้หนังเหนียว คงกะพัน บำรุงกำลังอย่างยอด
ปลาไหลเผือก …ยาล้างพิษยาเสพติด
ปลาไหลเผือกค่อยๆ ถูกลืมไปพร้อมกับการพัฒนาโรงพยาบาลสมัยใหม่ แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีวัดวาอารามหลายแห่งประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการรักษายาเสพติด โดยนำสมุนไพรแก้พิษของหมอยาโบราณมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย สมุนไพรที่นำกลับมาใช้ใหม่ มาในนามของยาสามรากอันประกอบด้วย รากปลาไหลเผือก รากโลดทะนงแดง ต้นฮังฮ้อน โดยโลดทะนงแดง (นางแซง) มีสรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา ทำให้อาเจียน ทำให้ถ่าย ปลาไหลเผือก (พญารากเดียว) มีสรรพคุณ แก้ไข้ ถ่ายพิษ บำรุงกำลัง ฮังฮ้อน (พญารากไฟ) แก้เลือดไม่เดิน ทำให้เลือดเดินสะดวก ทั้งสามอย่างนี้ใช้แก้อาการลงแดงจากยาเสพติด เอายาสามรากฝนกับน้ำมะนาวกินก่อนอาหาร เช้า-เย็น หรือต้มน้ำดื่มก็ได้ ปลาไหลเผือก…จึงได้รับการพูดถึงอีกครั้งหนึ่ง
แต่เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวคราวการจดสิทธิบัตรสมุนไพรที่มีอยู่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในการเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพของเพศชายในประเทศสหรัฐอเมริกา… “ปลาไหลเผือก”
สมุนไพรที่ใช้เปรียบเสมือนไม้เท้าของท่านอาลี
…แสดงถึงความทรงพลังและความมีอายุยืน
ชาวไทยมุสลิมภาคใต้จะเรียกปลาไหลเผือกว่า ตงกัท อาลี (Tongkat Ali) ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับที่คนมาเลเซียเรียกกัน “ตงกัท” แปลว่าไม้เท้า “อาลี” คือ นักรบที่เก่งกล้า มีพละกำลังแข็งแกร่ง ในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ท่านอาลีรบเคียงข้างมากับท่านศาสดานบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ดังนั้นชื่อ “ตงกัทอาลี” จึงมีความหมายถึงความทรงพลังและความมีอายุยืน จากการเรียกชื่อเช่นนั้นทำให้เชื่อกันว่า ปลาไหลเผือกเป็นสมุนไพรที่มีการใช้มานานนับพันปีแล้ว ชุมชนในสามจังหวัดภาคใต้ นิยมนำทั้ง “แก่นและราก” ของตงกัทอาลีมาต้มน้ำกินวันละ ๓-๔ ครั้งและก่อนนอน ถือเป็นยาโด๊บชั้นยอด สามารถบำรุงกำลังและบำรุงสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย แม้จะมีรสขมจัดก็ตาม นอกจากต้มกินแล้วบางคนยังใช้ทำเป็นชา ชงกินต่างใบชา เพื่อบำรุงกำลัง นอกจากจะใช้ประโยชน์ในการเป็นยาโด๊บแล้ว “ตงกัท อาลี” ยังใช้ต้มกินเพื่อป้องกันและรักษาไข้ป่า แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดทั่วไปของพรานไพร และนายฮ้อย
พ่อสมจิต ตีเหล็ก ลูกชายหมอยา ปู่อ่ำ ตีเหล็ก จากจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันพ่อสมจิตมีอายุ ๗๔ ปี พ่อเล่าว่าสมัยก่อนนายฮ้อย หรือผู้ต้อนฝูงควายตระเวนขายตามหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศไทย ต้องร่อนเร่ข้ามเขา ข้ามห้วย บางครั้งต้องเดินทางผ่านป่าผ่านดงเป็นเดือนๆ สมุนไพรบบำรุงกำลังที่คู่มากับการเดินทางไกลและยาวนานก็คือ ปลาไหลเผือก พวกนายฮ้อยจะใช้รากปลาไหลเผือกต้มน้ำดื่ม ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง อดทน คลายอาการปวดเมื่อย ป้องกันและรักษาอาการไข้ขึ้นระหว่างเดินทาง ทำให้แผลหายเร็วขึ้นด้วย และยังใช้รากปลาไหลเผือกผสมกับสมุนไพรโลดทะนงแดง ทารกวัวรกควายเพื่อเบื่อหมาในที่มักชอบมาขโมยลูกวัวลูกควายคลอดใหม่ นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการดื่มน้ำต้มรากปลาไหลเผือกนอกจากเพื่อบำรุงกำลังให้ข้ามเขาข้ามห้วยได้แล้ว ยังกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี บรรเทาอาการผื่นคันบริเวณผิวหนัง
ส่วนพ่อบุญมี ได้ฤกษ์ พรานไพรแห่งป่าเขาใหญ่ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เคยเล่าให้ฟังว่า ในการเดินป่านั้นจะขาดปลาไหลเผือกไม่ได้ เพราะปลาไหลเผือกต้มกินทำให้มีกำลังเดินป่าเดินเขา ใช้รักษาไข้ป่า เวลาที่ปวดท้องอย่างแรง (กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน) ถ้าใช้ต้มกินหรือเคี้ยวกินทันทีอาการจะหายเป็นปลิดทิ้ง หรือถ้ามีอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะก็ใช้ได้ผล และพ่อบุญมียังเล่าว่ารากปลาไหลเผือกใช้ในการรักษาตัดไข้ แก้พิษทุกชนิด เช่น พิษแมลงสัตว์กัดต่อย พิษฝี ทั้งฝีภายใน ฝีภายนอก และพุพอง พรานสมัยก่อนจึงมักจะมีรากปลาไหลเผือกตากแห้งติดตัวติดบ้านไว้เสมอ
ทำให้หนังเหนียวครา…ออกรบ
ตาส่วน สีมะพริก และคุณบุญล้วน จันทร์นวล เล่าตรงกันว่า ในสมัยก่อนคนที่ออกรบจะต้องพกปลาไหลเผือกติดตัวไปด้วย ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ก่อนเข้าสู่สนามรบให้นำมาเคี้ยวกินจะทำให้อยู่ยงคงกะพัน มีเรี่ยวแรงในการรบ ปลาไหลเผือก จึงได้ชื่อว่า หยิกบ่ถอง อีเฒ่าหนังหยาน ซึ่งมีความหมายของความเป็นคนหนังเหนียว ผิวหนังไม่มีความรู้สึกใดๆ แต่การจะเอารากปลาไหลเผือกมาใช้ต้องทำพิธีขอ แล้วจึงขุดรากขึ้นมา เมื่อขุดรากขึ้นมาเรียบร้อยก็ต้องทำพิธีปลุกเสกอีกครั้ง ถึงจะนำมาใช้ได้ เชื่อว่าเมื่อเคี้ยวกินหรือฝนกิน จะทำให้หนังเหนียวมีพละกำลังมากขึ้น
เป็นที่น่าแปลกใจว่า การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่าปลาไหลเผือกมีสรรพคุณในการเพิ่มความแข็งแรงของนักกีฬาได้อย่างชัดเจนด้วย
มีครั้งหนึ่งเมื่อต้องเดินป่าไปเก็บยาสมุนไพรกับหมอยาไทยใหญ่ ที่ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พ่อหมอยาได้พาเดินไต่เขาไปสองสันเขา เพื่อไปดูยาสมุนไพรต้นที่มีชื่อว่า ขมสามดอย อันมีความหมายถึงเดินขาลากไปสามดอยแล้วยังไม่หายขม หรือทำให้มีกำลังเดินได้ถึงสามดอยก็ได้ เจอต้นขมสามดอยของไทยใหญ่ก็เป็นต้นเดียวกับปลาไหลเผือกที่คุ้นเคยอยู่แล้ว พ่อหมอยังบอกอีกว่า รากปลาไหลเผือกต้มกินแก้ไข้หนาวสั่น (ซึ่งน่าจะเป็นไข้มาลาเรีย) จะใช้เฉพาะตัวมันตัวเดียวหรือต้มรวมกับงูเห่าเหลือง (เถางูเห่า) ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าใช้รากปลาไหลเผือกต้มกิน ทำให้หนังเหนียว คงกะพัน บำรุงกำลังอย่างยอด
ปลาไหลเผือกค่อยๆ ถูกลืมไปพร้อมกับการพัฒนาโรงพยาบาลสมัยใหม่ แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีวัดวาอารามหลายแห่งประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการรักษายาเสพติด โดยนำสมุนไพรแก้พิษของหมอยาโบราณมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย สมุนไพรที่นำกลับมาใช้ใหม่ มาในนามของยาสามรากอันประกอบด้วย รากปลาไหลเผือก รากโลดทะนงแดง ต้นฮังฮ้อน โดยโลดทะนงแดง (นางแซง) มีสรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา ทำให้อาเจียน ทำให้ถ่าย ปลาไหลเผือก (พญารากเดียว) มีสรรพคุณ แก้ไข้ ถ่ายพิษ บำรุงกำลัง ฮังฮ้อน (พญารากไฟ) แก้เลือดไม่เดิน ทำให้เลือดเดินสะดวก ทั้งสามอย่างนี้ใช้แก้อาการลงแดงจากยาเสพติด เอายาสามรากฝนกับน้ำมะนาวกินก่อนอาหาร เช้า-เย็น หรือต้มน้ำดื่มก็ได้ ปลาไหลเผือก…จึงได้รับการพูดถึงอีกครั้งหนึ่ง
แต่เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวคราวการจดสิทธิบัตรสมุนไพรที่มีอยู่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในการเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพของเพศชายในประเทศสหรัฐอเมริกา… “ปลาไหลเผือก”