ดื่ม "กาแฟ" ทุกวัน อาจช่วยทำให้ความจำดีขึ้น
หลายคนดื่มกาแฟแต่เช้า เพราะรู้สึกว่าดื่มแล้วช่วยทำให้เราไม่ง่วงนอน ช่วยทำให้เรากระปรี้กระเปร่า อันเป็นผลมาจากคาเฟอีน แต่ผลการวิจัยล่าสุด พบว่าคาเฟอีนมีประโยชน์มากกว่าการไปกระตุ้นสมองให้ตื่น เพราะมันยังอาจจะสามารถช่วยเพิ่มความจำที่ดีขึ้นให้กับเราได้ด้วย
ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอปกินส์ ในเว็บไซต์เนเจอร์ นูโรไซน์ซ เกี่ยวกับการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของคาเฟอีนต่อความทรงจำ โดยไม่รวมเอาปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความทรงจำมารวมเข้าด้วย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าคาเฟอีนมีผลช่วยกระตุ้นความทรงจำหลังการดื่มคาเฟอี นเข้าไปแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
นายไมเคิล ยัสซา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านประสาทชีววิทยาและพฤติกรรมจากมหาวิทยาลัยแคลิ ฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ผลการวิจัยพบว่าคาเฟอีนส่งผลต่อกระบวนการในการสร้างความทรงจำของมนุษย์ให้ อยู่นานยิ่งขึ้น ไม่ขี้ลืม ซึ่งถือเป็นการค้นพบครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง
ยัสซากล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษากลุ่มตัวอย่างกว่า 100 คน ที่ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ คือ ไม่ได้ดื่มกาแฟ ชา หรือน้ำอัดลมมาก และได้คัดเลือกคนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ ซึ่งไม่ใช่แค่การดื่มกาแฟเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
โดยให้ผู้เข้าร่วมทดสอบดูภาพหลายๆ ภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นภาพรองเท้า เก้าอี้ เป็ดยาง เป็นต้น แล้วถามว่า สิ่งของที่เห็นนั้นเป็นสิ่งของที่อยู่ในหรือนอกบ้าน ซึ่งยัสเซอร์กล่าวว่า จริงๆ แล้ว ผู้ทำการวิจัยไม่ได้สนใจคำตอบที่ได้เท่าไหร่ แต่สิ่งที่ต้องการจริงๆ คือต้องการให้ผู้เข้าร่วมทดสอบให้ความสนใจกับสิ่งของที่เห็น แล้วเก็บสิ่งเหล่านั้นเข้าไปในสมอง
5 นาทีหลังจากผู้ร่วมทดสอบมองรูปเหล่านี้แล้ว ครึ่งหนึ่งของผู้ร่วมทดสอบจะดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน 200 มิลลิกรัม และอีกครึ่งหนึ่งดื่มเครื่องดื่มที่ถูกหลอกว่ามีคาเฟอีนอยู่เข้าไป แล้วกลับมาเข้าทดสอบอีกครั้งในอีก 24 ชั่วโมงต่อมา ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีคาเฟอีนเหลืออยู่ในร่างกายแล้ว แล้วให้ดูภาพสิ่งของต่างๆ แล้วถูกถามในคำถามเดิม แต่อาจจะเป็นภาพใหม่หรือภาพเก่าที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย เช่น มุมที่ต่างๆ จากวันก่อน เป็นต้น และพบว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเข้าไปจะสามารถตอบได้ว่าสิ่งของที่ เห็นนั้นต่างไปจากวันก่อนอย่างไร ในขณะที่ผู้ที่ไม่ได้ดื่มคาเฟอีนเข้าไปจะตอบไม่ค่อยถูก
นายยัสเซอร์กล่าวว่า หากบริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่น้อยเกินไป ก็ไม่ส่งผลทำให้ความจำดีขึ้นด้วย ดังนั้น การบริโภคคาเฟอีนในระดับหนึ่งจะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น ไม่หลงลืมง่าย และจำได้นานขึ้น แม่นยำขึ้น
ทั้งนี้ สัดส่วนของคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟนั้นจะแตกต่างกันออกไป โดยเฉลี่ย 1 แก้วจะมีคาเฟอีนอยู่ราว 160 มิลลิกรัม แต่แก้วกาแฟขนาด 16 ออนซ์ของสตาร์บัคส์ จะมีคาเฟอีนอยู่ 330 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณของคาเฟอีนที่จะช่วยกระตุ้นความทรงจำให้ดีขึ้นได้คืออย่างน้อย 200 มิลลิกรัม
ด้าน นายแพทย์เดวิด น็อปแมน ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจากโรงพยาบาลเมโยโรเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ผลวิจัยดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากฝ่ายวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ ถือเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าและน่าสนใจ เพื่อนำไปพัฒนายาเกี่ยวกับยาที่ใช้ในมนุษย์ต่อไป แต่ไม่คิดว่าผลการวิจัยที่ได้จะสามารถนำไปช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความทรงจำ จากโรคอัลไซเมอร์ได้
นายยัสเซอร์ซึ่งก็ได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวทั้งใน ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน กล่าวว่า ยังต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมอีกเพื่อหาคำตอบให้ได้ว่าเหตุใดคาเฟอีนจึงสามารถ ช่วยให้ความจำดีขึ้นได้
ที่มา : นสพ.มติชน
นายไมเคิล ยัสซา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านประสาทชีววิทยาและพฤติกรรมจากมหาวิทยาลัยแคลิ ฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ผลการวิจัยพบว่าคาเฟอีนส่งผลต่อกระบวนการในการสร้างความทรงจำของมนุษย์ให้ อยู่นานยิ่งขึ้น ไม่ขี้ลืม ซึ่งถือเป็นการค้นพบครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง
ยัสซากล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษากลุ่มตัวอย่างกว่า 100 คน ที่ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ คือ ไม่ได้ดื่มกาแฟ ชา หรือน้ำอัดลมมาก และได้คัดเลือกคนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ ซึ่งไม่ใช่แค่การดื่มกาแฟเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
โดยให้ผู้เข้าร่วมทดสอบดูภาพหลายๆ ภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นภาพรองเท้า เก้าอี้ เป็ดยาง เป็นต้น แล้วถามว่า สิ่งของที่เห็นนั้นเป็นสิ่งของที่อยู่ในหรือนอกบ้าน ซึ่งยัสเซอร์กล่าวว่า จริงๆ แล้ว ผู้ทำการวิจัยไม่ได้สนใจคำตอบที่ได้เท่าไหร่ แต่สิ่งที่ต้องการจริงๆ คือต้องการให้ผู้เข้าร่วมทดสอบให้ความสนใจกับสิ่งของที่เห็น แล้วเก็บสิ่งเหล่านั้นเข้าไปในสมอง
5 นาทีหลังจากผู้ร่วมทดสอบมองรูปเหล่านี้แล้ว ครึ่งหนึ่งของผู้ร่วมทดสอบจะดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน 200 มิลลิกรัม และอีกครึ่งหนึ่งดื่มเครื่องดื่มที่ถูกหลอกว่ามีคาเฟอีนอยู่เข้าไป แล้วกลับมาเข้าทดสอบอีกครั้งในอีก 24 ชั่วโมงต่อมา ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีคาเฟอีนเหลืออยู่ในร่างกายแล้ว แล้วให้ดูภาพสิ่งของต่างๆ แล้วถูกถามในคำถามเดิม แต่อาจจะเป็นภาพใหม่หรือภาพเก่าที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย เช่น มุมที่ต่างๆ จากวันก่อน เป็นต้น และพบว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเข้าไปจะสามารถตอบได้ว่าสิ่งของที่ เห็นนั้นต่างไปจากวันก่อนอย่างไร ในขณะที่ผู้ที่ไม่ได้ดื่มคาเฟอีนเข้าไปจะตอบไม่ค่อยถูก
นายยัสเซอร์กล่าวว่า หากบริโภคคาเฟอีนในปริมาณที่น้อยเกินไป ก็ไม่ส่งผลทำให้ความจำดีขึ้นด้วย ดังนั้น การบริโภคคาเฟอีนในระดับหนึ่งจะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น ไม่หลงลืมง่าย และจำได้นานขึ้น แม่นยำขึ้น
ทั้งนี้ สัดส่วนของคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟนั้นจะแตกต่างกันออกไป โดยเฉลี่ย 1 แก้วจะมีคาเฟอีนอยู่ราว 160 มิลลิกรัม แต่แก้วกาแฟขนาด 16 ออนซ์ของสตาร์บัคส์ จะมีคาเฟอีนอยู่ 330 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณของคาเฟอีนที่จะช่วยกระตุ้นความทรงจำให้ดีขึ้นได้คืออย่างน้อย 200 มิลลิกรัม
ด้าน นายแพทย์เดวิด น็อปแมน ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจากโรงพยาบาลเมโยโรเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ผลวิจัยดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากฝ่ายวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ ถือเป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าและน่าสนใจ เพื่อนำไปพัฒนายาเกี่ยวกับยาที่ใช้ในมนุษย์ต่อไป แต่ไม่คิดว่าผลการวิจัยที่ได้จะสามารถนำไปช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความทรงจำ จากโรคอัลไซเมอร์ได้
นายยัสเซอร์ซึ่งก็ได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวทั้งใน ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน กล่าวว่า ยังต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมอีกเพื่อหาคำตอบให้ได้ว่าเหตุใดคาเฟอีนจึงสามารถ ช่วยให้ความจำดีขึ้นได้
ที่มา : นสพ.มติชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น