วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตายได้ถ้ามักง่ายเรื่องเซ็กส์

ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตายได้ถ้ามักง่ายเรื่องเซ็กส์

โดย Momypedia

โรคซิฟิลิส หรือ ซิฟิลิส Syphilis เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่งจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการมมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันด้วยการใส่ถุงยางอนามัย โรคนี้เรามักได้ยินบ่อยว่าเกิดในผู้หญิง แต่จริงๆ แล้วโรคซิฟิลิสเกิดได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชาย โรคซิฟิลิสเกิดจากอะไร ติดต่อกันได้อย่างไร อาการเป็นอย่างไร และจะรักษาโรคซิฟิลิสอย่างไร

ซิฟิลิส, โรคซิฟิลิส, Syphilis, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดต่อ, เชื้อแบคทีเรีย, ถุงยางอนามัย, เซ็กส์, เซ็กซ์, รักษาโรคซิฟิลิส, ยา่รักษาซิฟิลิส, การป้องกันโรคซิฟิลิส, อวัยวะเพศ, ช่องคลอด, ท่อปัสสาวะ
โรคซิฟิลิสคืออะไร
โรคซิฟิลิสเป็นชื่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อ Treponema pallidum มีอันตรายเป็นโรคติดต่อที่สามารถทำให้เกิดโรคแก่ระบบต่างๆ ของร่างกายได้หลายระบบ เช่น ซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ซิฟิลิสระบบประสาท เป็นต้น นอกจากนี้ แม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิสจะถ่ายทอดโรคสู่ทารกในครรภ์ได้เรียกว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด


โรคซิฟิลิสติดต่อได้อย่างไร
โรคซิืฟิลิสติดต่อกันได้จาก 2 ทางหลักๆ คือ
      • ติดโรคซิฟิลิสจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย โดยสามารถติดต่อได้ทั้งจากอวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก ท่อปัสสาวะั และช่องปาก
      • ติดโรคซิฟิลิสผ่านการสัมผัวผิวหนัง เนื้อเยื่อที่มีเชื้อซิฟิลิสอยู่ เช่น ทางผิวหนัง เยื่อบุตา หรือสัมผัสโดยสารคัดหลั่งซึ่งเป็นของเสียจากแผลที่เกิดจากโรคซิฟิลิส เช่น น้ำใสๆ น้ำหนองเป็นต้น
      • ติดโรคซิฟิลิสจากแม่สู่ลูก ทารกในครรภ์และทารกที่คลอดออกมาจะได้รับเชื้อซิฟิลิสเลย ซึ่งเรียกว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital Syphilis) จะแสดงอาการหลังคลอดได้ 3-8 สัปดาห์ และเป็นอาการเล็กน้อยมาก จนแทบไม่ทันได้สังเกต เช่น มีตุ่มผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่มาออกอาการมาก ๆ เข้าเมื่อตอนโต หรือบางคนอาจแสดงอาการพิการออกมาให้เห็นได้ชัด

ซิฟิลิส, โรคซิฟิลิส, Syphilis, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดต่อ, เชื้อแบคทีเรีย, ถุงยางอนามัย, เซ็กส์, เซ็กซ์, รักษาโรคซิฟิลิส, ยา่รักษาซิฟิลิส, การป้องกันโรคซิฟิลิส, อวัยวะเพศ, ช่องคลอด, ท่อปัสสาวะ

อาการของโรคซิฟิลิส
อาการของโรคซิฟิลิสจะแสดงออกมาในช่วงเวลาที่ต่างกันตามระยะเวลาของการได้รับเชื้อ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะของอาการดังต่อไปนี้
โรคซิฟิลิสระยะที่ 1 
สังเกตได้จากการมีแผลที่เป็นแผลเดี่ยว หรืออาจจะมีหลายแผล โดยจะพบมากบริเวณอวัยเพศทั้งชายและหญิง เมื่อรา่งกายรับเชื้อซิฟิลิสไป แล้วจะทีระยะฟักตัวและใช้เวลาในการออกอาการตั้งแต่รับเชื้อไปแล้ว 10-19 วัน หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 21 วัน แผลที่เกิดขึ้นจะเป็นวงกลมขนาดเล็ก นิ่ม ไม่เจ็บ ขอบแผลจะนูนแข็ง และแผลจะอยู่นานประมาณ 3-6 สัปดาห์ หากในช่วงนี้ได้ีรับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาก็จะสามารถหายได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาก็จะเข้าสู่โรคซิฟิลิสในระยะที่ 2

โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 
โรคซิฟิลิสในระยะที่ 2 นี้ จะเกิดเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคซิฟิลิสและ ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องนานกว่า 6 สัปดาห์ขึ้น โดยจะเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนังและเยื่อบุร่างกาย ผื่นที่เกิดจึ้นจะไม่คัน ผื่นมีลักษณะสีแดงหรือจุดน้ำตาลแดง อาจเกิดขึ้นบนฝ่ามือและฝ่าเท้า รวมถึงตามร่า่งกาย เช่น หน้าอกหรือแผ่นหลัง บางครั้งผื่นที่เกิดขึ้นจะจางและสังเกตไม่ชัด แต่อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต ผมร่วงเป็นหย่อมๆ น้ำหนักลด ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง หรือ มีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ จะเริ่มมีหูดบางๆ ปูดขึ้นที่ปากช่องคล่องหรือรอบๆ ทวารหนัก 

โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือโรคซิฟิลิสระยะสุดท้าย
ผู้ที่ได้รับเชื้อซิฟิลิสที่ ได้รับเชื้อไปแล้ว แต่อาจจะเกิดอาการแฝงของโรคที่ไม่ปรากฏชัด จนติดเชื้อมานานเป็นปี อาจจะทำให้อาการของโรคปรากฏขึ้นเด่นชัดก็เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือระยะสุดท้ายแล้ว บางรายอาจปรากฏอาการของโรคเมื่อได้รับเชื้อไปแล้ว 20-30 ปีก็มี โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3 นี้ เป็นระยะที่เชื้อโรคเข้าทำลายอวัยวะภายในที่สำคัญแล้วหลายส่วน เช่น สมอง เส้น ประสาท ตา หัวใจ ตับ กระดูก ข้อ และเส้นเืิลือด ซึ่งอาจทำให้รู้สึกชา เป็นอัมพาต ตาบอม สมองเสื่อม และอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้



ซิฟิลิส, โรคซิฟิลิส, Syphilis, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดต่อ, เชื้อแบคทีเรีย, ถุงยางอนามัย, เซ็กส์, เซ็กซ์, รักษาโรคซิฟิลิส, ยา่รักษาซิฟิลิส, การป้องกันโรคซิฟิลิส, อวัยวะเพศ, ช่องคลอด, ท่อปัสสาวะ ซิฟิลิส, โรคซิฟิลิส, Syphilis, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดต่อ, เชื้อแบคทีเรีย, ถุงยางอนามัย, เซ็กส์, เซ็กซ์, รักษาโรคซิฟิลิส, ยา่รักษาซิฟิลิส, การป้องกันโรคซิฟิลิส, อวัยวะเพศ, ช่องคลอด, ท่อปัสสาวะ


อาการของทารกที่ได้รับเชื้อซิฟิลิสจากการตั้งครรภ์

เชื้อโรคซิฟิลิสที่ ถ่ายทอดจากแม่ตั้งครรภ์สู่ลูกนั้น อาการของเด็กที่ได้รับเชื้อจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่แม่ตั้งครรภ์ได้รับ เชื้อเข้าสู่ร่างกายว่านานเท่าไหร่ และแม่ตั้งครรภ์ได้รับเชื้อในระยะไหนแล้ว ซึ่งจะส่งผลต่อทารกในหลายๆ อาการ เช่น อาจทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่คลอดออกมาแล้วจะแสดงอาการของโรคเมื่อมีอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาและการดูแลอย่างใกล้ชิด หากไม่ได้รับการรักษาอาจจะมีโตช้า มีปัญหาทางพัฒนาการ ชัก และเสียชีวิตได้ในที่สุด


การรักษาโรคซิฟิลิส
โรคซิฟิลิสสามารถ รักษาได้ง่ายในช่วงระยะแรก โดยรักษาด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อประเภทยาปฏิชีวนะหรือยาเพนนิซิลิน 1 ครั้ง หรือการกินยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ป่วยมามากกว่า 1 ปี จะต้องฉีดยาดังกล่าวมากกว่า 1 ครั้งหรือกินยานานขึ้น โดยการวินิจฉัยของแพทย์ว่ายังคงพบเชื้อซิฟิลิสอยู่หรือไม่ การรักษาด้วยวิธีให้ยาปฏชีวนะนี้จะป้องกันเชื้อโรคไม่ให้ทำลายอวัยวะ แต่สำหรับอวัยวะที่อาจจะถูกทำลายไปแล้ว ยาปฏิชีวนะไม่สามารถช่วยรักษาได้

หลังจากได้รับยาแล้ว และแพทย์ระบุว่าโรคซิฟิลิสหาย แล้ว ผู้ป่วยยังต้องมาพบแพทย์ทุกๆ 3 เือน เพื่อตรวจหาเชื้อโรคซิฟิลิสที่อาจจะแอบแฝงอยู่ เพื่อให้แน่ใจว่าหายขาดแล้ว จากนั้นจึงปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคซิฟิลิส รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ต่อไป


ซิฟิลิส, โรคซิฟิลิส, Syphilis, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคติดต่อ, เชื้อแบคทีเรีย, ถุงยางอนามัย, เซ็กส์, เซ็กซ์, รักษาโรคซิฟิลิส, ยา่รักษาซิฟิลิส, การป้องกันโรคซิฟิลิส, อวัยวะเพศ, ช่องคลอด, ท่อปัสสาวะ


การป้องกันโรคซิฟิลิส
      • ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
      • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
      • คู่สามีภรรยา หรือคู่รักก่อนแต่งงานควรตรวจเลือดหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อน เพื่อรักษาอาการของโรคก่อนจะแพร่เชื้อเมื่อมีเพศสัมพันธ์
      • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในแบบเสี่ยง เช่น การมีเพศสัมพันธ์มึนเมา เสพยาเสพติด เป็นต้น


โรคซิฟิลิสเมื่อหายแล้วจะกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่
โรคซิฟิลิสเมื่อรักษาหายแล้วยังสามารถกลับมาเป็นได้อีก หากผู้ป่วยอยู่ในความเสี่ยงหรือปฏิบัติตนไม่ถูกต้องก็สามารถกลับมาติดโรคซิฟิลิสได้อีก ซึ่งอาจได้รับเชื้ออีกเมื่อเกิดแผลในจุดที่ซ้อนเร้นมากและต้องตรวจผลทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น เช่น ในช่องคลอด ในทวารหนัก เป็นต้น ดังนั้นหากรู้ตัวว่ามีความเสี่ยง หรือมีแบบสัมพันธ์แบบเสี่ยง ควรตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และเข้าสู่การรักษาต่อไป


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.rtcog.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น